วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2



แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
ตอบ
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่ว ถึง อธิบาย
ตอบ
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศ
อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ

อนุทินที่ 1


แบบฝึกหัด

คำสั่ง : หลังจากนักศึกษาไดศึกษาบทเรียนนี้แล้วจงตอบคำ ถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ    มนุษย์เป็นสัตว์อันประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มกับบุคคลอื่นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่ร อดได้ ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น เรียกว่า กฎหมาย หากไม่มีกฎหมายจะทำให้สังคม เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจาก ความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้น ซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ ไม่ เพราะ หากไม่มีกฎหมายจะทำให้สังคม เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจาก ความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้น ซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ    ก. ความหมาย : กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับ ที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับ ใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย : องค์ประกอบที่สำคัญของกฎหมาย คือ ประชาชนที่อยู่ร่วมกัน ในอาณาเขตเดียวกันและมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ลักษณะหรือองค์ประกอบได้ 4 ประการคือ 1.)เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย  ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด 2.) เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด 3.)ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ 4.) มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญา
ค. ที่มาของกฎหมาย : ที่มาของกฎหมาย มีตำราบางแห่งใช้ว่าบ่อเกิดของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบที่กฎหมายแสดงออกมา สำหรับที่มาของกฎหมายในแต่ละประเทศมีที่มาแตกต่างกัน ส่วนของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้ 1.)บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร  2.)จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย 3.) ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี 4.) คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา 5.) ความเห็นของนักนิติศาสตร์
ง. ประเภทของกฎหมาย : การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างคร่าว ๆ ก่อนโดยแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กฎหมายภายใน ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ และกฎหมายภายนอก ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
    1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
    2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    3.1 กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
    3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
4. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น
    4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
ตอบ  ดิฉันคิดว่าหากไม่มีกฎหมายจะทำให้สังคม เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจาก ความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้น ซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ทำให้ความวุ่นวานในสังคมเป็นอย่างมาก
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับทางกฎหมาย  คือ  โทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สภาพบังคับทางอาญาและความผิดทางแพ่ง  แตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน  จึงมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้
                1. ความผิดทางอาญา : เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป  ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด

                2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด  ฉะนั้น  หากผู้ทำผิดตายลง  การสืบสวนสอบสวน  การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล  ดังนั้น  เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง  ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ  จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้  เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น  แดงจ้างดำวาดรูป  ต่อมาดำตายลง  ถือว่าหนี้ระงับลง
                3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ  เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 59 บัญญัติว่า  “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท  ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท  หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา...”  ส่วนความรับผิดทางแพ่ง  ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้น
                4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด  ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ  เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรง  ส่วนกฎหมายแพ่ง  หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี  กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น    ดังนั้น  การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น  ศาลอาจตีความขยายได้
                5. ความรับผิดทางอาญา โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต  จำคุก กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ  เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
                6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้  เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้  ความผิดอันยอมความได้เช่น  ความผิดฐานหมิ่นประมาท  ความผิดฐานยักยอก  เป็นต้น  เหตุผลก็คือ  ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง  ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได    ส่วนความผิดทางแพ่ง  ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล  หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลย

                7. ความผิดในทางอาญา  บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม  เช่น  ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ  ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุน ส่วนความผิดทางแพ่ง  ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ  จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมด
                8. ความรับผิดทางอาญา  การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็นส่วนรวม  เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี  อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่าง  ส่วนความรับผิดทางแพ่ง  กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ  ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  เสรีภาพ  ชื่อเสียง  ทรัพย์สิน  ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด  กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น  ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุด
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  ระบบของกฎหมาย (Legal System)
    ระบบของกฎหมาย หรือตำราบางเล่มเรียกว่า สกุลของกฎหมาย (Legal Famly) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
    1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
    2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งดังนี้ ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง  ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง  ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
1. ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
    1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
    2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    3.1 กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
    3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
4. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น
    4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยมีจำนวนมาก เกี่ยวพันกับผู้คนในหลากหลายสาขาอาชีพ จึงมีโอกาสสูงที่กฎหมายสองฉบับอาจมีเนื้อความขัดกันเอง ในกรณีนี้ ให้ถือตามกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า  ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ / ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. รัฐธรรมนูญ
     เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท ใช้เป็นหลักในการปกครอบประเทศ กฎหมายอื่นๆจะขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายฉบับนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะ หลักการ การใช้อำนาจของรัฐ ในการบริหารและปกครองประเทศในภาพรวมเท่านั้น ส่วนรายละเอียด รัฐธรรมนูญจะส่งต่อให้ไปออกเป็น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกาอีกทอดหนึ่ง แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องและประเทศชาติ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
       เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ 
3. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
      พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยใช้กระบวนการทางรัฐสภา กฎหมายส่วนใหญ่จะถูกออกใช้ด้วยวิธีการนี้ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมาย ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่จำเพาะจะจงและแคบลงมา โดยรับหลักการมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ อีกทอดหนึ่ง กฎหมายประเภทนี้จะได้กล่าวถึงหลักการของแต่ละเรื่องโดยละเอียด แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อย
    พระราชบัญญัติเกือบทุกฉบับ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการ ตามที่กำหนดใว้ในกฎหมายแต่ละฉบับ และได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานดังกล่าว ให้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนั้นๆ ดังนั้นคำสั่งที่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย หากได้สั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินั้นแล้ว คำสั่งนั้นจึงถือเป็นกฎหมาย   
     ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีศักดิ์และกระบวนการจัดทำ เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่จะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นกฎหมายที่ ได้รวบรวมเอากฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกัน มาไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน และนำมาจัดหมดหมู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการนำไปใช้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
4. พระราชกำหนด
      เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกพระราชกำหนดจะต้องเป็นกรณี เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือแก้ไขภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือ มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งเป็นการด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน เท่านั้น
    โดยมีข้อแม้ว่า เมื่อพระราชกำหนดมีผลใช้บังคับแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องนำพระราชกำหนดฉบับนั้นๆ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยมิชักช้า หากรัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชบัญญัติฉบับนั้นต้องตกไป (ถูกยกเลิกไป) แต่ไม่กระทบถึงกิจการที่ได้ทำไปก่อนถูกยกเลิก หากรัฐสภาอนุมัติ ก็ให้พระราชกำหนดฉบับนั้นมีผลใช้บังคับเป็น "พระราชบัญญัติ" ต่อไป
5. พระราชกฤษฎีกา
    เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ รัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด ได้เปิดช่องทางและมอบให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยเอาเอง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด แล้วแต่กรณี
    เหตุที่ต้องให้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมายได้นั้น ก็เนื่องจากการออก รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดนั้น ในเนื้อหารายจะกล่าวถึงกรอบใหญ่ๆอันเป็นหลักการเท่านั้น แต่รายละเอียดในทางปฏิบัติ จะให้อำนาจฝ่ายบริหารไปกำหนดรายละเอียดเอาเอง ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายหลัก เช่น พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เหมาะสมและใช้ได้ตลอดไป และสามารถแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ได้ง่าย เนื่องจากการแก้ไขพระราชกฤษฎีกา ไม่จำต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภานั่นเอง (แต่ต้องทูลเกล้าฯถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธยจากพระมหากษัตริย์)

6. กฎกระทรวง
     เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกฎกระทรวงนี้เหตุผลและที่มา เช่นเดียวกับการออกพระราชกฤษฎีกาทุกประการ แล้วเมื่อใดต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือออกเป็นพระราชกำหนด  อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของเรื่องนั้นๆ   กล่าวคือ   ถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญก็จะออกเป็นพระราชกฤษีกา หากเป็นเรื่องไม่สำคัญก็จะออกเป็นเพียง กฎกระทรวงเท่านั้น (ประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการฯ)
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด, เทศบัญญัติ, ข้อบังคับตำบล, ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร, ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้อำนาจ ในการออกกฎหมายมาจากพระราชบัญญัติบางฉบับแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อใช้บังคับ เฉพาะในเขตปกครองของตนเท่านั้น
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม
รูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำ ร้ายร่างกาย
ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานั้นท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ  ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนมี สิทธิและเสรีภาพ โดยรัฐบาลไม่ควรใช้อำนาจในทำร้ายประชาชน ควรหันมาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน  เพื่อความสงบสุขของประเทศ
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา หมายถึง กฎ ระเบียบ ประกาศและคำสงต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่าเมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ การไม่รู้กฎหมายนั้นส่งผลกระทบต่อเนื่องจากทำให้ทำผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและคนอื่น นอกจากนี้แล้วอาจถูกเอรัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่นได้โดยง่ายอีกด้วย

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว




ชื่อ : นางสาวกวินนาฎ  หนูเพชร                                                               

ชื่อเล่น : มาย

วันเกิด : วันที่ 18 เดือนธันวาคม พ.ศ.2539

อีเมล : kawinnart8682@gmail.com

เฟสบุก : สมายด์ สมายด์

ไลค์ : miledy22

กำลังศึกษาอยู่ : คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

วิชาที่ชอบ : วิชาภาษาอังกฤษและวิชาคณิตศาสตร์

วิชาที่ไม่ชอบ : วิชาวิทยาศาสตร์

นิสัยส่วนตัว : ขี้อ้อน ร่าเริง พูดตรงไปตรงมา                                            

อาหารโปรด : ปูนึ่ง ต้มยำทะเล และก๋วยเตี๋ยว

สีที่ชอบ : สีส้มและสีฟ้า

คติประจำใจ : ความสำเร็จไม่ได้หลนมาจาฟ้า แต่อยู่ที่การแสวงหาและอดทนรอโอกาสที่เหมาะสม

เป้าหมายในชีวิต: การได้เป็นข้าราชการครู

อุดมการณ์การเป็นครู : ถ่ายทอดความรู้ อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับนักเรียน สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน